Saturday 31 July 2010

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่




ตราสัญลักษณ์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทยที่ตั้งขึ้นในส่วนภูมิภาค และเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกที่เรียกชื่อตามชื่อเมือง ปัจจุบันมหาวิทยาลัยนี้ตั้งอยู่เชิงดอยสุเทพ อำเภอเมือง เชียงใหม่ ขนาบข้างด้วยถนนห้วยแก้ว และถนนสุเทพ ห่างจากตัวเมืองประมาณ 4 ก.ม. และมีเนื้อที่ประมาณ 2,000 ไร่เศษ เปิดทำการสอน เมื่อเดือนมิถุนายนพ.ศ. 2507

พ.ศ. 2484 รัฐบาลมีนโยบายที่จะจัดตั้งมหาวิทยาลัยในส่วนภูมิภาคขึ้นแต่เกิดสงครามโลก ครั้งที่ 2 การดำเนินงานจึงชะงักลง ต่อมาในปี พ.ศ. 2501 รัฐบาลชุดจอมพลถนอม กิตติขจร เป็นนายกรัฐมนตรี ได้แถลงนโยบายเกี่ยวกับการศึกษาว่า "จะดำเนินการพัฒนาการศึกษาในส่วนภูมิภาค ตลอดถึงการศึกษาชั้นสูง" พ.ศ. 2502 ได้มีการประชุมโครงการพัฒนาการศึกษาในส่วนภูมิภาค ภาคการศึกษา 8 ณ จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ม.ล.ปิ่น มาลากุล) เป็นประธาน ที่ประชุมมีความเห็นว่า "น่าจะจัดตั้งมหาวิทยาลัยขึ้นที่จังหวัดเชียงใหม่" พ.ศ. 2503 รัฐบาลชุด จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ลงมติอนุมัติให้จัดตั้งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรียกชื่อมหาวิทยาลัยนี้ว่า "มหาวิทยาลัยเชียงใหม่"

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เปิดทำการสอนเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2507 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเป็นองค์ประธาน ในพิธีเปิดมหาวิทยาลัยอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2508

ในระยะเริ่มต้นได้เปิดดำเนินการสอนเพียง 3 คณะ ที่เป็นรากฐานของทุกสาขาวิชา คือ คณะมนุษยศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2508 ได้รับโอนกิจการคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลนครเชียงใหม่ จาก มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (มหาวิทยาลัยมหิดลในปัจจุบัน) มาเป็นคณะแพทยศาสตร์สังกัดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในปีเดียวกันนี้เอง ได้เริ่มจัดตั้งคณะเกษตรศาสตร์ขึ้นอีกคณะหนึ่ง ในปีการศึกษา 2511 ได้จัดตั้งคณะศึกษาศาสตร์ และในปีการศึกษา 2513 ได้จัดตั้งคณะใหม่อีก คือ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2515 จึงได้จัดตั้งเพิ่มขึ้นอีก 3 คณะคือ คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ และคณะพยาบาลศาสตร์ ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่มีคณะทั้งหมดด้วยกัน 21 คณะ โดยในปี พ.ศ. 2518 ได้จัดตั้งคณะเทคนิคการแพทย์เพิ่มขึ้น และตั้งบัณฑิตวิทยาลัย เมื่อปี พ.ศ. 2519 เพื่อเป็นหน่วยประสานงานด้านการเรียนการสอนและมาตรฐานหลักสูตรขั้นบัณฑิตศึกษามีฐานะเทียบเท่าคณะหนึ่งแต่การดำเนินงานด้าน การสอนและการวิจัยซึ่งกระทำโดยคณาจารย์ของคณะ และได้มีการจัดตั้งคณะวิจิตรศิลป์ขึ้น ในปี พ.ศ. 2525 เปิดรับนักศึกษาตั้งแต่ ปีการศึกษา 2526 ในปี 2536 ได้จัดตั้งคณะเพิ่มขึ้นอีก 3 คณะ คือ คณะเศรษฐศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจ และคณะอุตสาหกรรมเกษตร และในปี พ.ศ. 2538 ได้จัดตั้งคณะเพิ่มอีก 1 คณะคือคณะสัตวแพทยศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2543 ได้มีการจัดตั้งคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ขึ้นเป็นคณะที่ 17 ในปีพ.ศ. 2548 ได้จัดตั้งอีกสามคณะคือ คณะการสื่อสารมวลชน คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ และวิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี (เทียบเท่าคณะ) ล่าสุดปีพ.ศ. 2549 ได้จัดตั้งคณะที่ 21 คือ คณะนิติศาสตร์ โดย การประเมินศักยภาพของมหาวิทยาลัยของไทย สกอ ได้จัดให้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่อยู่ในกลุ่ม ดีเลิศ ทั้งการเรียนการสอน และการวิจัย

ในปี พ.ศ. 2550 ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ผ่าน สนช. และพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. 2551 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2551 เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐลำดับที่ 12


ตราประจำมหาวิทยาลัยเป็นรูปวงกลม ๒ วง ประกอบด้วย วงกลมชั้นนอก จำนวน ๒ เส้น เป็นขอบของตราเครื่องหมายและวงกลมชั้นใน จำนวน ๑ เส้น ระหว่างวงกลมนอกและวงกลมใน ด้านบนมีอักษรบาลี "อตตานํ ทมยนติ ปณฑิตา" ด้านล่างมีอักษรไทย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. ๒๕๐๗ ที่ว่างระหว่างอักษรบาลีและภาษาไทยมีดอกสักคั่นข้างละ ๑ ดอก ภายในวงกลมชั้นในมีรูปช้าง ท่าทางงามสง่าเป็นธรรมชาติ อยู่ในท่าก้าวย่างและชูคบเพลิง รัศมี ๘ แฉก ดังนั้นโดยความหมายแล้ว ช้างหมายถึงภาคเหนือ การก้าวย่างของช้างหมายถึง ความเจริญก้าวหน้าไปไม่หยุดยั้ง คบเพลิง หมายถึง ความสว่างไสวแห่งปัญญาและวิชาการ รัศมี ๘ แฉก หมายถึงคณะทั้ง ๘ ที่มหาวิทยาลัยจะจัดตั้งขึ้น ดอกสักที่คั่น หมายถึง ต้นไม้ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของภาคเหนือซึ่งเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ส่วนอักษรไทย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. ๒๕๐๗ นั้นหมายถึงมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ก่อตั้งขึ้นในปี ๒๕๐๗ ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่อันดับ ๖ ของประเทศไทย

"อตตานํ ทมยนติ ปณฑิตา"แปลว่า บัณฑิตทั้งหลายย่อมฝึกตน เป็นคำขวัญประจำมหาวิทยาลัย ซึ่งสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สังฆปรินายก ทรงประทานให้มหาวิทยาลัย

พระพุทธรูปประจำมหาวิทยาลัย ได้แก่ พระพุทธทศพลชินราช และ พระพุทธพิงคนคราภิมงคล





คณะวิชา



กลุ่มสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์


กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี


วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ




พื้นที่มหาวิทยาลัย

พื้นที่ในความดูแลของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รวม 8,502 ไร่ พื้นที่บางส่วนเป็นที่ดินของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เอง ซึ่งมีการซื้อหรือเวนคืนในช่วงการจัดตั้งมหาวิทยาลัย บางส่วนหน่วยงานราชการอื่น โดยเฉพาะกรมป่าไม้ อนุญาตให้ใช้ประโยชน์ได้ และมีบางส่วนได้รับจากผู้มีจิตศรัทธา พื้นที่เหล่านี้กระจายอยู่ตามบริเวณต่างๆ ดังนี้

  • บริเวณเชิงดอยและสวนดอก 1,812 ไร่
  • บริเวณสถานีวิจัยและศูนย์ฝึกอบรมการเกษตรแม่เหียะ 1,293 ไร่
  • บริเวณสถานีวิจัยและศูนย์ฝึกอบรมการเกษตรที่สูงขุนช่างเคี่ยน 550 ไร่
  • บริเวณสถานีวิจัยการเกษตรที่สูงดอยป่าเกี๊ยะ 30 ไร่
  • บริเวณสถานีวิจัยการเกษตรที่สูงหนองหอย 50 ไร่
  • บริเวณค่ายสำรวจคณะวิศวกรรมศาสตร์ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ 17 ไร่
  • พื้นที่บริจาคให้แก่คณะแพทยศาสตร์ 12 ไร่
  • พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ แม่ธิ-แม่ตีบ-แม่สาร ตำบลศรีบัวบาน อ.เมือง จ.ลำพูน 4,726 ไร่
  • ที่ราชพัสดุ ต.แม่สา อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ 12 ไร่




สถานที่สำคัญในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่



  • ศาลพระภูมิ

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้จัดตั้งศาลพระภูมิประจำมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ขึ้นเมื่อ วันอังคารที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2507 บริเวณหน้าตึกมหาวิทยาลัยหรือศาลาธรรมในปัจจุบัน ซึ่งศาลพระภูมิของมหาวิทยาลัยเป็นเสมือนศูนย์รวมจิตใจของนักศึกษามหาวิทยาเชียงใหม่ม่

ศาลาธรรมเป็นอาคาร 2 ชั้น ทรงไทย ตั้งอยู่ด้านหน้ามหาวิทยาลัย ตัวอาคารประกอบด้วยห้องโถงกว้าง12 เมตร ยาว 20 เมตร สร้างเสร็จเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2507 ต่อมาได้มีการต่อเติมตัวอาคารด้านหลังและทำซุ้มเพื่อประดิษฐานพระพุทธรูปซึ่งเป็นพระพุทธรูปประจำมหาวิทยาลัย

ในระยะแรกศาลาธรรมเป็นสถานที่จัดพิธีไหว้ครูของนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อศาลาอ่างแก้วสร้างเสร็จจึงได้ประกอบพิธีพระราชทานปริญญาบัตรและพิธีไหว้ครู ณ ศาลาอ่างแก้ว มหาวิทยาลัยจึงใช้ศาลาธรรมเป็นสถานที่เปลี่ยนฉลองพระองค์ และประทับพักพระอิริยาบถของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯและพระบรมวงศานุวงศ์ในคราวเสด็จพระราชดำเนินมาพระราชทานปริญญาบัตร ซึ่งเหล่าคณาจารย์ ข้าราชการ และนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ก็จะมาเฝ้ารอรับเสด็จ ณ สถานที่แห่งนี้

ต่อมาเมื่อหอประชุมมหาวิทยาลัยสร้างเสร็จจึงได้ย้ายสถานที่พระราชทานปริญญาบัตรและพิธีไหว้ครูไปยังหอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยจึงได้ใช้ศาลาธรรมเป็นสถานที่จัดงานสำคัญๆของมหาวิทยาลัยในบางโอกาส เช่น การจัดงานแสดงความยินดี และงานเลี้ยงรับรองผู้มีเกียรติของมหาวิทยาลัย เป็นต้น

หอประชุม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • อ่างแก้ว

อ่างแก้วคืออ่างเก็บน้ำของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าของมหาวิทยาลัย ซึ่งอ่างแก้วนอกจากจะใช้กักเก็บน้ำเพื่อใช้ภายในมหาวิทยาลัยแล้วยังเป็นสถาที่สวยงามและที่พักผ่อนหย่อนใจของลูกช้าง มช ด้วยเช่นกัน

  • ศาลาอ่างแก้ว

ศาลาอ่างแก้วเป็นสถานที่พระราชทานปริญญาบัตรในอดีตก่อนจะเปลี่ยนมาเป็นหอประชุมใหญ่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในปัจจุบันศาลาอ่างแก้วใช้ประกอบพิธีต่างๆเช่น การเตรียมตัวก่อนขึ้นดอยของนักศึกษาในกิจกรรมรับน้องขึ้นดอย การรับน้อง และการออกกำลังกายเป็นต้น

  • หอประชุมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

หอประชุมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นสถานที่รับพระราชทานปริญญาบัตรของนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สถานที่จัดกิจกรรมรับน้องรวม ปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ กิจกรรมเฟรชชีไนท์เป็นต้น

  • ตลาดร่มสัก

ตลาดร่มสัก หรือ ตลาดฝายหินเป็นตลาดขายอาหารที่มีชื่อเสียงและเป็นที่นิยมของชาว มช เป็นอย่างมากซึ่งอยู่คู่มหาวิทยาลัยแห่งนี้มายาวนานหลายยุคสมัย และในตลาดร่มสักมีเมนูอาหารที่ขึ้นชื่อคือ สลัดฝายหิน และน้ำผลไม้ ซึ่งอาหารที่นี่มีราคาถูกมาก

  • หอพักนักศึกษา

เมื่อได้เข้ามาเป็นนักศึกษาในรั้วของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ส่วนใหญ่คงจะคุ้นเคยกับการอยู่หอพักนักศึกษา เนื่องจากทางมหาวิทยาลัยมีนโยบายที่ส่งเสริมให้นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ทุกคน ได้เข้าพักในหอพักนักศึกษา เพื่อให้นักศึกษาต่างคณะรู้จักกัน และเป็นการฝึกให้นักศึกษาสามารถใช้ชีวิตร่วมกับบุคคลอื่นได้อย่างมีความสุข จำนวนหอพักในมหาวิทยาลัยมีทั้งหมด 15 อาคาร แบ่งออกเป็นหอพักนักศึกษาชาย 7 อาคารและหอพักนักศึกษาหญิง 8 อาคาร สำหรับค่าใช้จ่ายสำหรับเรื่องหอพักนั้นตกประมาณ 1,800 บาทต่อเทอม ซึ่งในราคานี้ได้รวมค่าสาธารณูปโภคและค่าใช้จ่ายอื่นๆไว้แล้ว นอกจากนั้นผู้ที่รักสบายขึ้นมาหน่อยก็สามารถเลือกอยู่หอพักในกำกับ มีอยู่ 4 หอได้แก่ หอสีชมพู หอแม่เหียะ หอพยาบาล และใหม่ล่าสุด หอ 40 ปี ซึ่งก็จะมีราคาสูงขึ้นตามความสะดวกสบายที่เพิ่มขึ้นด้วย หลังจากการก่อตั้งสำนักงานหอพักนักศึกษา เมื่อปี 2551 แต่เดิมมีฐานะเป็นงานหอพักนักศึกษา สังกัดกองกิจการนักศึกษา (ปัจจุบันคือกองพัฒนานักศึกษา) จึงเป็นหน่วยงานหลักในการกำกับดูแลหอพักนักศึกษาในปัจจุบัน มีหอพักนักศึกษาในสังกัดจำนวน 18 อาคาร ได้แก่ หอพักภายในมหาวิทยาลัย ประกอบด้วย หอพักนักศึกษาชาย อาคาร 2 - 7 , หอพักนักศึกษาหญิง อาคาร 1 - 9 และหอพักในกำกับ ประกอบด้วย หอพักสีชมพู , หอพักแม่เหียะ และหอพัก 40 ปี

การเปิด - ปิดหอพักนักศึกษานั้น หอพักนักศึกษาชาย ตั้งแต่ปีการศึกษา 2551 เปิดเวลา 6 โมงเช้า ปิดเวลาเที่ยงคืน (แต่เดิมเปิดตลอด 24 ชั่วโมง) ส่วนหอพักนักศึกษาหญิง เปิดเวลา 6 โมงเช้า ปิดเวลา 4 ทุ่ม เนื่องจากทางมหาวิทยาลัยได้คำนึงถึงความปลอดภัยแก่นักศึกษาหญิง นอกจากนั้นทางหอพักก็ได้ให้บริการและสวัสดิการต่างๆที่จัดให้ เช่น หนังสือพิมพ์ทั้งรายวันและรายสัปดาห์ โทรทัศน์ติด UBC ร้านเสริมสวย ร้านซัก อบ รีด ร้านค้าสะดวกซื้อ ห้องคอมพิวเตอร์พร้อมอินเทอร์เน็ต เพื่อบริการแก่นักศึกษาทุกคน



กิจกรรมนักศึกษา

รับน้อง ม.ช.

ปีพุทธศักราช 2507 ปีแรกของการเปิดดำเนินการของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งมีนักศึกษารุ่นแรกจำนวน 291คน ศาสตราจารย์ นายแพทย์บุญสม มาร์ติน ขณะนั้นดำรงตำแหน่งรองอธิการบดี ที่รับผิดชอบดูแลนักศึกษา มีความคิดที่ต้องการให้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่มีประเพณีที่แตกต่างไปจากมหาวิทยาลัยอื่น และเป็นประเพณีที่น่าประทับใจ น่าจดจำไว้ด้วยความภาคภูมิใจ ประกอบกับจังหวัดเชียงใหม่มีหนทางขึ้นดอยสุเทพ โดยครูบาศรีวิชัยเป็นผู้นำในการทำหนทางดังกล่าว นับว่าเป็นผลงานที่แสดงถึงความศรัทธาและความสามัคคีเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นหลังจากการปฐมนิเทศนักศึกษาในปีแรกแล้ว จึงได้ชักชวนนักศึกษารุ่นแรกทุกคนเดินขึ้นดอยสุเทพพร้อมกันด้วยความสามัคคี เพื่อนมัสการพระธาตุดอยสุเทพ ด้วยความศรัทธาและแสดงถึงความเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่อย่างสมบูรณ์ ประเพณีดังกล่าวนี้นักศึกษารุ่นหลังยังคงปฏิบัติสืบต่อกันมาตราบจนทุกวันนี้และเป็นประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ที่น่าภาคภูมิของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ประเพณีรับน้องขึ้นดอยเป็นประเพณีของนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่จัดขึ้นประมาณต้นเดือนกรกฎาคมของทุกปี ตามประวัติแล้วประเพณีนี้จัดขึ้นเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ลูกช้างเชือกใหม่ทุกคน และดอยสุเทพซึ่งวัดพระธาตุดอยสุเทพเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของชาวเชียงใหม่ โดยในวันรับน้องขึ้นดอยนั้นแต่ละคณะจะจัดตั้งขบวนบริเวณหน้าศาลาธรรมตั้งแต่เช้าตรู่โดยริ้วขบวนจะประกอบไปด้วยเฟรชชีและพี่ๆแต่ละชั้นปีเดินขึ้นไปพร้อมกันโดยทุกคนจะแต่งกายแบบล้านนาทำให้มีสีสันสวยงามตื่นตาตื่นใจ

รับน้องรถไฟเป็นประเพณีที่ทางมหาวิทยาลัยจัดขึ้นเพื่อสร้างความอบอุ่นให้กับลูกช้างเชือกใหม่ของทางมหาวิทยาลัยในทุกๆปีโดยกิจกรรมนี้รุ่นพี่คณะต่างๆจะลงไปรับน้องใหม่ที่สถานีรถไฟหัวลำโพง โดยจะมีการบูมให้กับน้องใหม่เล่นเกม สันทนาการตลอดการทำกิจกรรม

  • กิจกรรม Sport Day & Sport Night

สปอร์ตเดย์ และ สปอร์ตไนท์เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อแสดงความสามัคคีและน้ำใจนักกีฬาของแต่ละคณะโดยจะจัดขึ้นทุกๆปีในเดือนพฤษจิกายน โดยจะจัดกิจกรรมกันตั้งแต่ตอนเช้าจนถึงกลางดึก โดยในงานจะมีการประกวดเชียร์ลีดเดอร์ สแตนเชียร์ พาเหรด และการแสดงโชว์ของสแตนเชียร์ที่เรียกว่าไคลแมกซ์ โดยแต่ละคณะจะทำการซักซ้อมมาเป็นอย่างดีในการเชียร์


รับปริญญา มอชอ.jpg



พิธีพระราชทานปริญญาบัตร

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้เริ่มเปิดสอนในวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2507 โดยระยะแรกมีเพียง 3 คณะ ได้แก่ คณะมนุษยศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์ ในปีพ.ศ. 2508 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินพร้อมพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าอุบลรัตน์ราชกัญญาฯ และพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าวชิราลงกรณ์ฯมาทรงประกอบพิธีเปิดมหาวิทยาลัยอย่างเป็นทางการ ณ วันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2508 และในปีเดียวกันนี้เองที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้รับโอนคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ มาสังกัดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดังนั้นพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ในครั้งที่ 1 (พ.ศ. 2509) จึงเป็นพิธีพระราชทานปริญญาบัตรพร้อมกับมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ณ หอประชุมแพทยาลัย มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2510) จัด ณ พลับพลาคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ครั้งที่ 3-5 (พ.ศ. 2512 –2514 ) จัด ณ พลับพลาบริเวณสนามหน้าตึกอธิการบดี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ปีพุทธศักราช 2515 เมื่อการสร้างศาลาอ่างแก้วแล้วเสร็จ มหาวิทยาลัยจึงได้ย้ายสถานที่ประกอบพิธีพระราชทาน ปริญญาบัตรมายังศาลาอ่างแก้ว ดังนั้น พิธีพระราชทานปริญญาบัตรครั้งที่ 6–30 (พ.ศ. 2515–2539) จึงจัด ณ ศาลาอ่างแก้ว ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวมีเหตุการณ์ที่ควรบันทึกไว้คือ ในการพระราชทานปริญญาบัตรครั้งที่ 25 (พ.ศ. 2534) เป็นปีฉลอง 25 ปีแห่งพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต จัดทำเหรียญที่ระลึกพิธีพระราชทานปริญญาบัตรครั้งที่ 25 ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นเหรียญทองคำหนัก 25 บาท จำนวน 1 เหรียญ เพื่อขอพระราชทานทูลเกล้าฯถวายเหรียญที่ระลึกดังกล่าวแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในพิธีพระราชทานปริญญา-บัตร ครั้งที่ 25 เพื่อเป็นศิริมงคลแก่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ปีพุทธศักราช 2540 หอประชุมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้ดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้กราบบังคมทูลเชิญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จพระราชดำเนินเปิดอาคารหอประชุมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พร้อมกับ พระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดังนั้นการพระราชทานปริญญาบัตรครั้งที่ 31 (พ.ศ. 2540) จึงเป็นปีที่เริ่มใช้หอประชุมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นสถานที่พระราชทานปริญญาบัตร

Saturday 24 July 2010



Une modiste à contre-courant

Coco Chanel ne reste cependant pas oisive. Comment oublier les rudiments, enseignés à Moulins, du maniement du fil et e

l’aiguille ? Saisissant la balle au bond, c’est peut-être par la couture qu’elle franchira l’obstacle qui mène à la liber

d

té et l’indépendance. Ne perdant pas de temps, elle s’imprègne de l’enrichissante initiation prodiguée par Lucienne Rabaté, célèbre modiste du moment. Elle se confectionne de petits chapeaux originaux qu’elle pose très bas sur son front. Pour assister aux mondaines courses de chevaux, elle n’arbore pas les robes des grands couturiers mais ses propres réalisations. Jeune femme charmante mais au style décalé, tantôt écolière en tenue sobre et sage noire et blanche, tantôt garçonne n’hésitant pas à porter polo, cardigan, jodhpurs et pantalons, elle invente déjà un nouveau style, une nouvelle allure. Ses créations avant-gardistes, très sobres, contrastent avec celles que portent les élégantes de l’époque.

En 1909, sur les conseils de Boy Capel, son artisanat débute Boulevard Malesherbes, dans la garçonnière parisienne de son protecteur Étienne Balsan. Les chapeaux qu'elle propose à ses clientes ne sont que des déclinaisons de ceux qu'elle fabrique pour elle-même et qui, au château de Royallieu, près de Compiègne, ont séduit ses amies, des demi-mondaines qui fréquentaient le lieu. Balsan ne croit pas à un succès commercial.

N'ayant pas de formation technique, ni d'outils de fabrication, Gabrielle achète ses formes de chapeaux dans les grands magasins, puis les garnit avant de les revendre. La nouveauté et l'élégance de son style font que, très vite, elle doit faire appel à sa tante (ou cousine?) Adrienne, et à sa sœur Antoinette, pour la seconder. Ses créations de chapeaux, débarrassées des grandes plumes d'autruches ou autres froufrous volumineux, commencent à être appréciées pour leur exquise simplicité et leur sophistication retenue.







Ouverture des premières boutiques

Devenue la compagne de Boy Capel, Coco Chanel développe ses activités avec l’aide de ce dernier. En 1910, son amant britannique lui prête les fonds nécessaires à l'achat d'une patente et à l'ouverture d'un salon de modiste au 21 rue Cambon à Paris, sous le nom de « CHANEL MODES ». À l’été 1913, alors que le couple séjourne à Deauville, Boy Capel loue une boutique entre le casino et l’Hôtel Normandy. Comme àParis, elle est modiste mais l’enseigne est changée en mentionnant son nom complet : « GABRIELLE CHANEL » ; la boutique ne désemplit pas. En 1915, à Biarritz, elle ouvre sa troisième boutique et première vraie maison de couture. Suivant sa seule inspiration, elle raccourcit les jupes et supprime la taille. Elle libère le corps de la femme. Ses boutiques bénéficient de la clientèle de toute la société élégante qui s’est repliée pendant la guerre dans ces deux stations balnéaires.






Naissance d'un style : « la reine du genre pauvre »

Dès 1915, l'étoffe manquant, elle taille des robes de sport dans le jersey des sweaters de lads, ces tricots de corps pour les soldats, qu'elle a depuis longtemps adoptés. Libérant le corps, abandonnant la taille, Chanel annonce cette « silhouette neuve » qui lui vaudra sa réputation. Pour s'y conformer, les femmes s'efforcent d'être « maigres comme Coco », qui, d'un coup de ciseaux libérateur, devient une des premières femmes aux cheveux courts à créer des vêtements simples et pratiques, dont l’esthétique s’inspire d'une vie dynamique et sportive qui aime jouer avec les codes féminins/masculins.

En 1916, elle utilise la belle et élégante Adrienne comme mannequin à Deauville, qui est alors un lieu de villégiature à la mode. Elle y promène aussi sa propre silhouette androgyne, en testant ses nouvelles tenues contrastant avec leur extrême simplicité et leur confort sous les yeux d'aristocrates européennes encore très couvertes d'apparat et maintenues dans des corsets rigides. La pénurie de tissus due à laPremière Guerre mondiale, ainsi que la pénurie relative de main-d'œuvre domestique ont créé de nouveaux besoins pour les femmes. Chanel, femme libre et active, perçoit ces besoins. Elle achète à Rodier des pièces entières d'un jersey utilisé à l'époque uniquement pour les sous-vêtements masculins.