Saturday 6 November 2010





แทงโก้แท้ๆ เป็นแบบไหน อาร์เจนตินา...อาณาจักรแทงโก้




ประวัติของจังหวะแทงโก้


จังหวะแทงโก้
จังหวะ มิรองก้า MILONGA คือแม่แบบของจังหวะแทงโก้ ซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะคือ การเคลื่อนไหวของ ศีรษะและไหล่ โดยการสับเปลี่ยนทันทีทันใด จากการเคลื่อนไหวสู่ความนิ่งสงบต้นศตวรรษที่ 20 ได้มีการเต้นรำจังหวะ มิรองก้า นี้ในโรงละครเล็ก ๆ โดยเหล่าชนสังคมชั้นสูงที่มาจากประเทศ บราซิล ในช่วงเวลานั้น ชื่อของมันได้ถูกเปลี่ยนจาก มิรองก้า เป็นแทงโก้ ชื่อของมิรองก้า ยังมีตำนานเล่าขานอีกมากมายที่จะหวนไปสู่ความทรงจำ ที่มีมาจากนครบัวโนส แอเรส (BUENOS AIRES)แห่งประเทศอาร์เจนติน่า จังหวะแทงโก้ ได้ถูกแนะนำสู่ทวีปยุโรป ความจริงแล้วเริ่มก่อนในกรุงปารีส ในชุมชนชาวอาร์เจนติน่า กระทั่งปี ค.ศ.1907 แทงโก้ไม่เป็นที่ยอมรับในกรุงลอนดอน การเต้นได้ส่อแนวไปทางเพศสัมพันธ์มากเกินไป และมีคนจำนวนมากคัดค้าน ภายหลังได้เปลี่ยนแปลงรูปแบบ (STYLISTIC) ไปบ้าง จังหวะแทงโก้ถึงได้รับการยอมรับในกรุงปารีส และลอนดอน ในเวลานั้น (ค.ศ. 1912) ซึ่งเป็นช่วงเวลาของแทงโก้ปาร์ตี้ แทงโก้ทีส์ และแทงโก้ซุปเพียร์ ร่วมกันกับการแสดงของเหล่านักเต้นแทงโก้ระดับมืออาชีพ ในปี ค.ศ.1920/1921 จังหวะแทงโก้ ได้เพิ่มความมาตรฐานมากยิ่งขึ้น ในการร่วมปรึกษาหารือในการประชุมที่มหานครลอนดอน ระหว่างช่วงทศวรรษที่ 30 ลักษณะการกระแทกกระทั้นเป็นช่วงๆ (STACCATO ACTION) ได้ถูกนำเข้าใช้ร่วมในองค์ประกอบท่าเต้นของจังหวะแทงโก้

ลักษณะเฉพาะของจังหวะ แทงโก้
เอกลักษณ์เฉพาะ มั่นคง และ น่าเกรงขาม โล่งอิสระ ไม่มีการสวิง และ เลื่อนไหลการกระแทกกระทั้น เป็นช่วงๆ (STACCATO ACTION)การเคลื่อนไหว เฉียบขาด อาการเปลี่ยนแปลงที่สับเปลี่ยนอย่างฉับพลันสู่ความสงบนิ่ง การ ย่างก้าวที่นุ่มนวลอย่างแมวห้องดนตรี 2/4ความเร็วต่อนาที 33 บาร์ สอดคล้องกับกฎของ IDSFการเน้นจังหวะ บีทที่ 1 และ 3 เวลาที่ใช้ในการแข่งขัน 1 นาทีครึ่ง ถึง 2 นาทีการขึ้นและลง ไม่มีการขึ้นและลงหลักพลศาสตร์ ความสมดุลที่ดีร่วมกับการใช้น้ำหนัก จังหวะเวลา และการขับเคลื่อนอย่างโล่งอิสระ



เป็นที่ยอมรับกันในหมู่ผู้หลงใหลในศิลปะการลีลาศว่ามีเพียงไม่กี่อย่างเท่านั้นที่แสดงถึงความงดงามและมีเสน่ห์เย้ายวนแบบอเมริกาใต้อย่างแท้จริงเทียบกับแทงโก้” (Tango) ได้

แทงโก้เป็นจังหวะหนึ่งของการลีลาศแบบบอลรูมซึ่งมีกำเนิดจากการร้องรำทำเพลงของชนเผ่าพื้นเมืองในแอฟริกาแล้วในยุคกลางของศตวรรษที่ 19 นักล่าอาณานิคมผิวขาวได้มาเกณฑ์บังคับเอาชาวพื้นเมืองแอฟริกันไปเป็นทาสทำงานในไร่ของตน ตามดินแดนต่างๆ รวมทั้งอเมริกาใต้ เมื่อว่างจากการทำงาน การเต้นรำแบบพื้นเมืองจึงเป็นการพักผ่อนหย่อนใจของคนผิวดำเพื่อให้คลายความคิดถึงบ้าน

จากห้องเต้นรำเล็กๆ แห่งหนึ่งในอาร์เจนตินาคาร์ลอส การ์เดนนักดนตรีผิวขาวผู้มีชื่อเสียงได้นำลีลาการเต้นรำแบบพื้นเมืองแอฟริกันมาปรุงแต่งจังหวะดนตรีและลีลาการย่างก้าวของนักเต้นให้อ่อนหวานแต่เร้าใจยิ่งขึ้นจนแพร่หลายไปทั่วประเทศ แม้ในตอนแรกจะถูกสังคมชั้นสูง ในอาร์เจนตินามองดูอย่างดูถูกเหยียดหยาม ก็ตาม

แล้วก็ข้ามน้ำข้ามทะเลไปสู่ยุโรปโดยครอบครัวผู้อพยพจากอิตาลีและสเปน

ก่อนที่จะแพร่หลายไปทั่วโลก และเป็นที่ยอมรับของโลกลีลาศทุกคนว่า ไม่มีจังหวะไหนที่จะงามสง่าและประทับใจเท่าแทงโก้

ชาวอาร์เจนตินาถือว่าแทงโก้นั้น คือศิลปะการเต้นรำประจำชาติเช่นเดียวกับ แซมบ้า ของบราซิล แทงโก้ได้แตกหน่อต่อยอดออกไปตามภูมิภาคต่างๆ ของโลก มีตั้งแต่เทคโน-แทงโก้ไปจนถึงฟินนิช-แทงโก้ หรือแทงโก้แบบชาวฟินแลนด์

แต่ก็ไม่มีรูปแบบใดที่มีเสน่ห์เย้ายวนเท่ารูปแบบเดิมของชาวอาร์เจนตินา โดยเฉพาะสเต็ปที่ฝ่ายชายเยื้องกรายสอดขาข้างหนึ่งเบียดกับโคนขาของฝ่ายหญิงและเธอได้ตวัดขาข้างหนึ่งขึ้นประหนึ่งจะโอบรัดเข้าตอบรับในจังหวะเดียวกัน

ด้วยเหตุนี้เอง เพื่อรักษารูปแบบที่แท้จริงของ แทงโก้ต้นกำเนิด รัฐบาลอาร์เจนตินาจึงได้ตั้ง สถาบันแทงโก้แห่งชาติ ขึ้นเมื่อปี พ.. 2533 เพื่ออนุรักษ์ และถ่ายทอดมรดกทางวัฒนธรรมอันงดงามล้ำค่าทางศิลปะแก่อนุชนรุ่นหลังรวมทั้งให้ชาวโลกได้รู้จักกับแทงโก้ที่แท้จริงด้วย

...สถาบันแห่งนี้ทำหน้าที่ก้ำกึ่งกันระหว่างการเป็นมหาวิทยาลัยกับองค์กรทางศิลปะตามทัศนะของ ฮอราซิโอ เฟอร์เรอร์ ประธานกรรมการสถาบันแทงโก้แห่งชาติ

แทงโก้เป็นทั้งศิลปะและวัฒน-ธรรม สถาบันนี้จึงมีขึ้นเพื่อทำหน้าที่ทั้งการรักษาสิ่งที่บรรพบุรุษได้สร้างไว้ และถ่ายทอดความรู้เรื่องแทงโก้แก่นักศึกษา

สถาบันแทงโก้แห่งชาติของอาร์เจนตินาตั้งอยู่ภายในอาคารที่มีชื่อว่า ปาลาชิโอ คาร์ลอส การ์เดน หรือ วังคาร์ลอส การ์เดน เพื่อเป็นเกียรติแก่นักดนตรีผู้ที่ทำให้ชาวโลกได้รู้จักกับแทงโก้

ฮอราซิโอ เฟอร์เรอร์บอกว่า ทุกคนมาที่นี่เพื่อเข้าศึกษาตามหลักสูตร 3 ปีซึ่งมีทั้งด้านการเต้นรำ ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของแทงโก้ ด้านเครื่องดนตรี การแต่งเพลงและการร้องเพลง

นอกจากนั้นที่นี่ยังเป็นสถานที่เก็บหลักฐานข้อมูลและเป็นพิพิธภัณฑ์ ทำให้สถาบันแทงโก้แห่งชาติแห่งนี้กลายเป็นแหล่งค้นคว้าที่ใหญ่ที่สุดของโลกสำหรับผู้ที่อยากรู้เรื่องราวของแทงโก้

ที่ชั้นบนสุดของอาคารคาร์ลอส การ์เดนมีพื้นที่สำหรับนักท่องเที่ยวและชาวบัวโนสไอเรสได้ประลองหรือฝึกฝนฝีเท้าของตนในจังหวะเต้นรำที่งดงามให้คล่อง-แคล่วยิ่งขึ้นด้วย

..สถาบันแทงโก้แห่งชาติสอนตามหลักการเต้นแทงโก้คลาสสิกยุคต้นศตวรรษที่ 20 เท่านั้น นาฮูเดล เมเนนเดซอายุ 23 ปีได้มาเรียนในสถาบันนี้ 2 ปีแล้ว แม้ จะเป็นชาวอาร์เจนตินาแต่เขาไปโตที่ปารีส เคยเรียนเล่นเครื่องดนตรีบังโดนีออง ซึ่งคล้ายๆ กับแอคคอร์เดียน (หีบเพลงชัก)มาแล้ว เลยอยากจะรู้รูปแบบที่แท้จริงของแทงโก้จึงสมัครเรียนดนตรีที่นี่ เขาบอกว่า

จังหวะแทงโก้ที่สอนในสถาบันเป็นแบบเก่า เก่าพอๆ กับตัวตึกไม่มีผิด

เพราะจังหวะแทงโก้ที่เขาได้รู้จักจากที่นี่แตกต่างไปจากที่เคยได้ยินได้เห็นจากการประกวดเต้นรำระดับนานาชาติตามที่ต่างๆ อย่างสิ้นเชิง

ครูที่สอนดนตรีอยู่ในสถาบันแห่งนี้บอกว่า ถึงการสอนจะมุ่งไปที่รักษารูปแบบดั้งเดิมของแทงโก้ แต่วิธีการสอนไม่ได้เกาะตามตำราแบบเถรตรง ตรงกันข้าม พวกครูต้องการให้นักเรียนแสดงอารมณ์ของตนออกไปอย่างเต็มที่โดยผ่านทางเครื่องดนตรี

ครูบอกให้ผมเล่นเพลงเพลงหนึ่งตามโน้ตที่กางอยู่ข้างหน้า... และผมก็เล่นอย่างระมัดระวัง แกะตามตัวโน้ตทุกตัว พอเล่นจบ ครูบอกว่าเอาล่ะ เล่นใหม่อีกเที่ยว คราวนี้เล่นจากจิตวิญญาณของเธอเองนะ!’...” เมเนนเดซเล่าถึงประสบการณ์ของตนเอง

ออฟรี กับ เอริค หนุ่มสาวชาวอิสราเอลคู่หนึ่งที่สะพายเป้ท่องไปทั่วอเมริกาใต้ตัดสินใจสมัครเข้าเรียนหลักสูตรเต้นรำที่สถาบันแบบหาประสบการณ์เล่นๆ แล้วก็หลงรักแทงโก้เข้าอย่างจับใจครูที่สอนก็คอยช่วยเหลือสนับสนุนคนที่เพิ่งเริ่มต้นหัดเต้นรำอย่างพวกเขาด้วยความเต็มอกเต็มใจ

เรามีความรู้สึกที่ดีมากๆ เมื่อสามารถเต้นแทงโก้กับผู้อาวุโสชาวอาร์เจนตินาและได้เห็นอารมณ์รักที่ผ่านออกมาทางลีลาแทงโก้ของพวกท่านอย่างน่ามหัศจรรย์

...ภายใต้รูปแบบหลักการสอนยึดวัฒนธรรมประเพณีเดิมอย่างเคร่งครัดของสถาบันแห่งนี้ที่ดูโบราณคร่ำครึแบบนี้แหละที่มีมนต์เสน่ห์ล้ำลึกแฝงอยู่ทำให้อาร์เจนตินาจึงยังคงเป็นดินแดนแห่งแทงโก้อยู่จนถึงปัจจุบัน

เขียนมาถึงตรงนี้แล้วอดนึกไปถึงศิลปะประจำชาติอย่างหนึ่งของเราไม่ได้ นั่นคือมวยไทยที่แพร่หลายไปทั่วโลกแล้ว ในปัจจุบัน คนต่างชาติโดยเฉพาะชาวยุโรปอเมริกันหันมาฝึกมวยไทยกันเป็นจำนวนมาก ค่ายมวยไทยในต่างแดนก็มีไม่ใช่น้อย แต่มีกระทรวง ทบวง กรมไหนของเราเคยสอดสายตาเข้าไปดูหรือเปล่าว่า

มวยไทยที่สอนกันอยู่นั้นเป็นศิลปะมวยไทยที่แท้จริงหรือเปล่า

สมควรที่หน่วยงานไหนจะยื่นมือ เข้ามาเกี่ยวข้องโดยตรงเพื่อการอนุรักษ์และเผยแพร่ ศิลปะประจำชาติขนานนี้อย่างถูกต้องเหมือนอย่างที่อาร์เจนตินาเขามี สถาบันแทงโก้แห่งชาติบ้างหรือไม่